|
|
ขนมลอดช่อง |
ลอดช่องหรือสมัยแต่ก่อนเรียกว่า นกปล่อย เป็นขนมไทยโบราณที่ทำจากแป้งด้วยการบีบให้
น้ำแป้งลอดช่องวงกลมตกลงในน้ำร้อนจนได้ก้อนแป้งสุกที่มีลักษณะเป็นเส้นสั้นๆ ยาว 2-2.5 นิ้ว ที่ให้
เนื้อนุ่ม นิยมทำทั้งสีขาว และสีเขียว ก่อนรับประทนจะใช้น้ำกะทิ และน้ำเชื่อมผสมลอดช่องมีประวัติ ความเป็นมาตั้งแต่สมัยโบราณ ซึ่งมีการค้นพบการจารึกที่เกี่ยวข้องกับลอดช่องแต่ไม่ระบุว่าอยู่ในสมัย
ใด คือ ขนมไทยที่นิยมรับประทาน 4 ชนิด ได้แก่
1. ไข่กบ ซึ่งก็คือ เมล็ดแมงลัก
2. นกปล่อย ซึ่งก็คือลอดช่อง
3. บัวลอย ซึ่งก็คือ ข้าวตอก
4. อ้ายตื้อ ซึ่งก็คือ ข้าวเหนียว
แต่ทั้งนี้ เชื่อว่าศิลาจารึกดังกล่าวน่าจะอยู่ในสมัยของสมเด็จพระนารายมหาราช ในช่วงปี 2215-2220
ซึ่งขณะนั้น แผ่นไทยดินมีความร่มเย็นเป็นสุข มิได้มีข้าศึกมารบกวน มีข้าวปลาอาหารสมบูรณ์ โดย
เฉพาะหลังจากการเก็บเกี่ยวข้าวเสร็จ ซึ่งฝ่ายผู้หญิงหรือแม่บ้านจะคอยเตรียมขนม 4 อย่าง ไว้เป็น
ของหวานเสมอ หรือที่เรียกในสมัยนั้นว่า ประเพณี 4 ถ้วย
สีลอดช่องที่นิยมทำ
1. ลอดช่องสีเขียว เป็นลอดช่องที่มีสีเขียว ที่ได้จากการใช้น้ำคั้นจากใบเตยลงผสมกับแป้งข้าวนอกจาก
จะให้สีเขียวแล้ว ยังช่วยให้ช่วยให้มีกลิ่นหอมของใบเตย
2. ลอดช่องสีขาว เป็นลอดช่องที่มีสีขาว ด้วยการไม่เติมสารสีใดๆลงในน้ำแป้ง เพราะตัวแป้งจะให้สี
ีขาวโดยธรรมชาติเอง
สูตร
อุปกรณ์
(1) ตาชั่ง
(2) เครื่องโม่หรือหินโม่ (หากทำน้ำแป้งเอง)
(3) ผ้าขาวบาง
(4) ชามสแตนเลส
(5) เตาแก๊ส
(6) ไม้พายที่ทำจากไม้หรือพลาสติก
(7) กระป๋องบีบลอดช่อง
ส่วนผสม
(1) แป้งข้าวเจ้า 2 ถ้วย หรือน้ำแป้งข้าวเจ้าบด 4 ถ้วย
(2) แป้งเท้ายายม่อม 1 ถ้วย
(3) แป้งถั่วเขียวครึ่งถ้วย
(4) น้ำตาลทรายแดง 1 กิโลกรัม สำหรับทำน้ำเชื่อม และปริมาณขึ้นอยู่กับปริมาณตัวลอดช่องที่ทำ
(5) น้ำปูนใส 2 ถ้วย
(6) น้ำใบเตย 1 ถ้วย (สำหรับทำลอดช่องสีเขียว)
(7) หัวกะทิ ตามปริมาณที่รับประทาน
(8) เกลือป่นเล็กน้อย (หนึ่งหยิบมือ) สำหรับใส่น้ำกะทิ
วิธีทำ
(1) นำแป้งข้าวเจ้า แป้งท้าวยายม่อม และแป้งถั่วเขียว เทผสมกับน้ำคั้นใบเตย และเติมน้ำปูนใสหรือ
หากใช้แป้งชนิดเดียวก็ได้ คือ แป้งข้าวเจ้า พร้อมกวนผสมให้เนื้อแป้งละลายซึ่งจะได้น้ำแป้งสีเขียวแต่หาก
ต้องการลอดช่องสีขาวจะไม่เติมน้ำคั้นใบเตย ซึ่งจะต้องให้ได้น้ำแป้งที่เข้มข้นเหมาะสม คือ หากใช้มือแตะ น้ำแป้งจะติดหลังมือขึ้นมา ทั้งนี้ ขั้นตอนนี้ในสมัยโบราณหรือวิธีดั้งเดิมจะใช้วิธีโม่ข้าวด้วยมือ ซึ่งจะแช่ข้าว
เจ้ากับน้ำปูนใสทิ้งไว้
(2) นำน้ำแป้งไปตั้งไฟ พร้อมกวนเป็นวงไปมา จนได้เนื้อแป้งที่สุก เนื้อแป้งหนืด และใส ซึ่งในตอนตั้งไฟ
ตอนแรกจะให้ไฟแรง ประมาณ 80-90 องศา และกวนนานประมาณ 30 นาที หลังจากนั้น เมื่อแป้งสุกแล้ว
ค่อยลี่ไฟลง และกวนนานประมาณ 10 นาที
(3) นำแป้งสุกที่ยังอุ่นหรือร้อนอยู่มาบีบผ่านอุปกรณ์ทำลอดช่อง ซึ่งอาจเป็นกระป๋องเจาะรูหรือ
หม้ออลูมิเนียมที่เจาะรูเล็กๆ ส่วนด้านล่างให้ใช้ถังหรือชามใส่น้ำรองรับ ทั้งนี้ ขณะบีบเนื้อแป้งจะต้องกด
บีบลงเป็นจังหวะ และปล่อยมือ เพื่อให้ได้เส้นลอดช่องสั้นๆ เพราะหากกดบีบนานจะทำให้เส้นลอดช่อง
ยาวเกินไป ไม่น่ารับประทาน
(4)ใช้ตะแกรงตักลอดช่องหรือเทกรองลอดช่องออกจากน้ำซึ่งเมื่อบีบลอดช่องจนได้ตัวลอดช่อง
เสร็จแล้วจะต้องแยกออกจากน้ำทันที เพราะหากทิ้งไว้นานจะทำให้ตัวลอดช่องเปื่อยยุ่ยได้
(5) เมื่อได้เส้นลอดช่องแล้ว จึงนำมาผสมกับน้ำกะทิ และน้ำเชื่อมรับประทาน
เคล็ดลับในการปรุง
1) แป้งที่ใช้ทำลอดช่อง หากเป็นสมัยก่อนจะใช้แป้งข้าวเจ้าเพียงอย่างเดียวที่นิยมใช้แป้งข้าวเจ้าเก่ามาบดโม่ด้วยมือจากหินโม่ และกรองน้ำแป้งด้วยผ้าขาวบาง
2) น้ำที่ใช้ทำน้ำปูนขาวจะต้องเป็นน้ำประปาหรือน้ำฝนที่สะอาด
3) การกวนควรกวนไปในทิศทางเดียวกันและกวนอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในช่วงแรกที่ใช้ไฟแรง
4) ความแรงของไฟควรสม่ำเสมอ โดยเฉพาะในช่วงแรกที่ให้ไฟแรง
5) เมื่อบีบเนื้อแป้งผ่านลงในน้ำแล้ว หลังจากบีบเนื้อแป้งเสร็จให้พักไว้ประมาณ 3-5 นาที และให้
้รีบตักแยกตัวลอดช่องออกจากน้ำทันที เพราะหากปล่อยไว้นานอาจทำให้ตัวลอดช่องเปื่อยยุ่ยได้
6) การรับประทานลอดช่องจะเติมน้ำเชื่อม และน้ำกะทิตามความต้องการ และหากให้อร่อยมากขึ้น มักใช้น้ำแข็งบดผสมลงเล็กน้อย
7) การใส่น้ำเชื่อม ไม่ควรใส่มากจนหวานเลื่อน
ลอดช่องที่น่ารับประทาน
1) เนื้อลอดช่องมีความนุ่ม
2) เส้นลอดช่องไม่ใหญ่หรือหนามาก และควรมีความยาวประมาณ 1.5-2.5 นิ้ว
3) ให้กลิ่นหอมของใบเตย
4) ให้รสมันจากกะทิ และความหวานจากน้ำตาล
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|